เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วยการเรียนรู้: "Home"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่อยู่ในห้วงจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล รวมทั้งอธิบายเจตจำนงของการมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย

week3


เป้าหมายรายสัปดาห์  : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับดวงดาวและระบบสุริยะจักรวาลได้
สัปดาห์
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
3




10 – 14 พ.ย.

2557
โจทย์:  แบบจำลองโลก ดวงดาวและอวกาศ/โมเดล
Key Questions :
- จักรวาลกว้าง ใหญ่และยาวแค่ไหน
- เราอยู่ที่ไหนของจักรวาล
-นักเรียนจะออกแบบและวางแผนโมเดลจำลอง อวกาศ สุริยะจักรวาลดวงดาว ได้อย่างไร (ใช้วัสดุรีไซเคิล)
เครื่องมือคิด
- Brainstorms
การร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูและฟังและจากคำถาม
- Show and Share
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับดวงดาว
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด (หมวดวิทยาศาสตร์ อวกาศและเทคโนโลยี)
- อินเทอร์เน็ตค้นคว้าเกี่ยวกับดวงดาวและระบบสุริยะจักรวาล
- บรรยากาศในห้องเรียน (มุมหนังสือเกี่ยวกับดวงดาวและระบบสุริยะจักรวาล)
- สมุดบันทึกเกี่ยวกับคำถามดวงดาวและระบบสุริยะจักรวาล
- คอมพิวเตอร์

- วิทยากร “ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง (การจุดประกายเกี่ยวกับเรื่องดวงดาวและระบบสุริยะจักรวาล)
วันจันทร์
ชง
ครูกระตุ้นความคิดด้วยคำถาม
- นักเรียนคิดว่านอกโลกเป็นอย่างไร
- เปิด  Application solar walk : app ดูดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวระบบสุริยะ ดาวเคราะห์ต่างๆและตั้งคำถามเกี่ยวกับระบบสุริยะ
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปลายเกี่ยวกับเรื่องราวดาวเคราะห์ต่างๆระบบสุริยะผ่าน Application solar walk : app ดูดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
- ครูเชิญวิทยากร ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง มาจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับสุริยะจักรวาลโดยครูและนักเรียนได้อภิปรายและแสดงความคิดเห็นโดยกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามดังนี้
-         ระบบสุริยะจักรวาล กว้าง ยาว เท่าไร
-         กาแล็คซี่ทางช้างเผือก กว้าง ยาวเท่าไร
ใช้
- ครูให้นักเรียนจับคู่แต่ละคู่เลือกคำถามที่ตั้งไว้เกี่ยวระบบสุริยะโดยการเลือกหัวที่สนใจเพื่อค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆเช่นห้องสมุด,อินเทอร์เน็ตและแหล่งอื่นๆโดยครูกำหนดเวลาให้คู่ละ 30 นาที

- นักเรียนนำความรู้ความเข้าใจจากการไปการค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร
ชง :
- ทบทวนความรู้เดิมที่เรียนในชั่วโมงที่ผ่านมาโดยใช้คำถมกระตุ้นนักเรียนได้เรียนรู้อะไรใหม่จากเมื่อวาน
- ครูให้นักเรียนดูคลิป TED คาร์เตอร์ เอ็มมาร์ท แสดงแผนที่ 3 มิติของจักรวาล
เชื่อม :
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับคลิปวีดีโอที่ได้ดู
 - จากนั้นครูจับฉลากแบ่งกลุ่มให้นักเรียนกลุ่มละ 6 คน ทั้งหมด 4 กลุ่มจับฉลากเลือกคำถามเพื่อศึกษาค้นคว้าที่กำหนดให้ดังนี้ เอกภพ/กาแล็คซี่/ดาวฤกษ์/ดาวเคราะห์/ระบบสุริยะจักรวาลและออกแบบวางแผนการทำงานโมเดลจำลองตามที่ตนเองสนใจโดยมีเงื่อนไขคือ
1. ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย
2. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
3. ไม่ต้องซื้อหรือหาวัสดุที่มีอยู่ที่บ้าน(รีไซเคิล)
4. นำเสนอสร้างสรรค์ชิ้นงานแปลกใหม่
ชง
ครูเปิดวีดีโอคลิปเกี่ยวกับการพ่นสีสเปรย์ให้เป็นรูปอวกาศและ VERY AMAZING SPRAY PAINTING
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูคลิปพ้นสีเช่น เทคนิคที่ใช้ การไล่สี จินตนาการ
วันพฤหัสบดี
ชง
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนจะออกแบบชิ้นของตนเองอย่างไรให้เป็นที่น่าสนใจ
เชื่อม
นักเรียนแต่ละกลุ่มตอบคำถามและร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ใช้

-นักเรียนแต่ละกลุ่มสร้างโมเดลจำลอง อากาศ/ดาวหาง/ดาวเคราะห์/ดาวฤกษ์/กาแล็กซี่ (ตามที่วางแผนไว้ในดาวอังคาร)
วันศุกร์
วันศุกร์พี่ๆชั้น ป.6 เข้าร่วมการเกี่ยวข้าวของโรงเรียนร่วมกับผู้ปกครองและคุณครูโดยคุณครูมอบหมายการบ้านให้นักเรียนเขียนสรุปสัปดาห์ที่  3
ชิ้นงาน
- สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับอวกาศ/ดาวหาง/ดาวเคราะห์/ดาวฤกษ์/กาแล็กซี่ 
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับอวกาศ/ดาวหาง/ดาวเคราะห์/ดาวฤกษ์/กาแล็กซี่
- การนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

- วางแผนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับดวงดาวและระบบสุริยะจักรวาลได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถร่วมกิจกรรมออกแบบและวางแผนเกี่ยวกับสร้างโมเดลจำลองของดวงดาวและระบบสุริยะจักรวาล ได้
- เลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ในการทำงานได้อย่างคุ้มค่า/ของที่เหลือใช้จากบ้านหรือวัสดุที่รีไซเคิลต่างๆ
ทักษะการคิด
- สามารถคิดวิเคราะห์ข้อมูลแยกแยะเปรียบและจัดหมวดเรื่องดวงดาวสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดู solar walk รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่มได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานโมเดลจำลองเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
สามารถอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มเกี่ยวกับคำตอบที่ได้ไปค้นคว้ามาและทำความเข้าใจ และเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
คุณลักษณะ:
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงานจนสำเร็จ













1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังสอน
    สัปดาห์ที่ 3 ของการเรียนรู้ คุณครูได้ครูกระตุ้นความคิดด้วยคำถามชวนคิด เช่น นักเรียนคิดเช่น จักรวาลกว้างแค่ไหน เราอยู่ที่ไหนของจักรวาล ซึ่งคำถามเหล่านี้เริ่มทำให้นักเรียนหลายคนอึ้งไปสักพักหนึ่ง มีนักเรียนบางคน คือพี่เพลงตอบว่ากว้างมากครับ พี่ปุณตอบว่า ไม่น่าจะวัดได้เพราะมันกว้างมากไม่มีที่สิ้นสุดครับ ส่วนอีกคำถามที่ว่า เราอยู่ที่ไหนของจักรวาล มีนักเรียนบางคนตอบว่าอยู่ในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก อยู่ในระบบสุริยะจักรวาล อยู่ในดาวโลก อยู่ในประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอลำปลายมาศ ตำบลโคกกลาง โรงเรียนลำปลามาศพัฒนา ชั้นป.6 ครับ นักเรียนบางคนตอบว่า ไม่ทราบค่ะ ซึ่งสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนรู้ ดังนั้นครูจึงได้เชิญวิทยากรรับเชิญคือคุณครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง มาจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับสุริยะจักรวาลโดยครูใหญ่ได้เริ่มต้นจากการเล่าให้ฟังว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ครูใหญ่เคยเรียนมาเช่นกันแต่ช่วงที่เรียนไม่ค่อยเข้าใจ แต่ตนเองรู้สึกสนใจอยากรู้มากซึ่งในอดีตไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยเหมือนกับยุคปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อมีโอกาสครูใหญ่จึงอยากให้นักเรียนได้ดู หลังจากนั้นครูใหญ่ได้เปิด Application solar walk (การโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ) ซึ่งนักเรียนให้ความสนใจดีมาก หลังจากนั้นครูให้โจทย์กับนักเรียนคือ ให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวสิ่งที่จะเรียนรู้ โดยนักเรียนแต่ละคนได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจหลายคำถามดังนี้
    - มีกาแล็กซีอื่นอีกไหม มีอะไรบ้าง (พี่โจเซฟ)
    - เราอยู่ตรงไหนของจักรภพ (พี่เพชร)
    - มีดาวเหมือนโลกอีกไหม(พี่บีท)
    - แสงสีน้ำตาลที่อยู่ตรงกลางกาแล็กซี่คืออะไร(พี่อังอัง)
    - ตรงกลางกาแล็กซี่คืออะไร (พี่ปุณ)
    - เราจะไปจักรวาลอื่นได้อย่างไร (พี่ซิ้นดี้)
    - นอกจากนี้แล้วมีกลุ่มดาวอื่นอีกไหม (พี่ฝ้าย)
    - หลุมดำอยู่ตรงไหนจักรวาลสิ้นสุดที่ไหน (พี่ติ)
    - รูโหว่ของชั้นโอโซนอยู่ตรงไหน (พี่โจเซฟ)
    - จักรวาลสิ้นสุดที่ไหน (พี่ฝ้าย)
    - มีดวงอาทิตย์ทั้งหมดกี่ดวง (พี่กระต่าย)
    หลังจากนั้นครูให้นักเรียนจับคู่เลือกคำถามที่ตนเองสนใจเพื่อค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่นนิตยสาร หนังสือ หรืออินเตอร์เน็ตแล้วนำความรู้ความเข้าใจจากการค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนและอภิปรายร่วมกัน ซึ่งบางเรื่องมีคำตอบบางเรื่องไม่มีคำตอบ โดยส่วนมากเป็นคำตอบที่ยังไม่ชัดเจน ครูจึงตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น นักเรียนคิดว่าจากข้อมูลที่นักเรียนหาได้ นักเรียนคิดว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ทำให้นักเรียนหลายคนเริ่มที่จะลังเลว่าข้อมูลที่ตนเองหาได้นั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด
    วันต่อมาครูได้ให้โจทย์คือให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มได้โจทย์ต่างกัน เช่น เอกภพและระบบสุริยะมีลักษณะอย่างไร กาแล็กซี่ทางช้างเผือกมีรูปร่างอย่างไร ดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์เหมือนหรือต่างกันอย่างไร โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบนำเสนอในรูปแบบโมเดลจำลองตามความสนใจโดยมีโจทย์ดังนี้
    1. ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย
    2. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
    3. ไม่ต้องซื้อหรือหาวัสดุที่มีอยู่ที่บ้าน(รีไซเคิล)
    4. นำเสนอสร้างสรรค์ชิ้นงานแปลกใหม่
    หลังจากที่นักเรียนวางแผนการทำงานร่วมกันเสร็จแล้ว วันต่อมาก็ได้นำวัสดุอุปกรณ์ตามที่วางแผนและอยู่ในข้อกำหนดมาสร้างสรรค์ชิ้นงานของกลุ่มตนเอง ซึ่งสัปดาห์นี้มีเพียงบางกลุ่มที่ทำเสร็จดังนั้นครูจึงยกยอดการนำเสนอเป็นสัปดาห์ต่อไป และท้ายชั่วโมงของสัปดาห์ครูได้ให้นักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ร่วมกันและหลังจากนั้นจึงเป็นการสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ สัปดาห์นี้เรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หลายคนสนุกและมีความสุขกับการทำโมเดล

    ตอบลบ