เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 หน่วยการเรียนรู้: "Home"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
นักเรียนเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่อยู่ในห้วงจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล รวมทั้งอธิบายเจตจำนงของการมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย

week5


เป้าหมาย : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับหลักการแรงโน้มถ่วงของโลกที่ส่งผลต่อในอดีตปัจจุบันอนาคตรวมทั้งเห็นความสัมพันธ์ของดวงดาวที่ส่งผลต่อปรากฏการต่างๆในชีวิตประจำวัน
สัปดาห์
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
5




24-28
พ.ย.

2557
โจทย์ : : โลก/โครงสร้าง/กำเนิดโลก/อายุของโลก/สิ่งมีชีวิต/สิ่งไม่มีชีวิต/แร่ธาตุ/ดิน/น้ำ/อากาศ
Key Questions :
- มนุษย์เดินทางไปนอกโลกได้อย่างไร
- ถ้านักเรียนถือน้ำ 1 แก้วลอยขึ้นไปนอกโลกจะเกิดอะไรขึ้นทำไมถึงคิดเช่นนั้น
- ดวงดาวมีอิทธิพลต่อโลกหรือไม่อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Key Question
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามเกี่ยวกับอิทธิพลของดวงดาวต่าง
- Show and Share
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเกี่ยวกับผลดีผลเสียของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
- Brainstorming
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ
- ชักเย่อความคิดผลดีผลเสียของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต (ผลดีผลเสียของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและอิทธิพลของดวงดาวต่างๆ)
- บรรยากาศในห้องเรียน
- โรงเรียน/ชุมชน

- ภาพยนตร์เรื่อง Gravity กราวิตี้ มฤตยูแรงโน้มถ่วง
วันจันทร์
ชง
- ครูกระตุ้นด้วยการทดลอง
- ครูกระตุ้นความคิดด้วยคำถาม
- แล้วมนุษย์เดินทางไปไปนอกโลกได้อย่างไร
- ถ้าเราถือแก้วน้ำ 1 ใบไปนอกโลกจะเกิดอะไรขึ้น
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสะท้อนจากการทดลองและจากคำถามเกี่ยวกับแก้วน้ำที่ไม่ตกและการเดินทางไปนอกโลก
- ครูและนักเรียนอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 ใช้
- โดยครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 8 กลุ่มค้นคว้าข้อมูลแรงโน้มถ่วงและแรงเสียดทานพร้อมกับยกตัวอย่างการทดลองกลุ่มละ 1 การทดลองเตรียมอุปกรณ์และเขียนชาร์ตวางแผนออกแบบและวางแผนการทดลองที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับหน่วย PBL ที่เรียนใน Quarter 3
วันอังคาร
เชื่อม
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
- นักเรียนจะนำเสนอการทดลองอย่างไรให้น่าสนใจ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มเวียนการนำเสนอการทดลองเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงและแรงเสียดทาน/แรงดันของเหลว/การเดินทางของเสียง/การเดินทางเของแสง/ฯลฯ
- ครูและนักเรียนร่วมกันร่วมกันอภิปรายสิ่งที่ได้จากการทดลอง/ผลที่เกิดขึ้นทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ใช้

- นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปความเข้าใจตามความสนใจ
วันศุกร์
ชง
ตั้งคำถามกระตุ้นความคิดด้วยคำถาม
- นักเรียนคิดว่าอะไรบ้างที่เป็นผลจากพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศส่งผลดีผลเสียอย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับหนังเรื่อง Gravity กราวิตี้ มฤตยูแรงโน้มถ่วง
- จากนั้นครูจับฉลากแบ่งกลุ่มให้นักเรียนค้นหาข้อมูลและนำเสนอ
- ครูกระตุ้นความคิดด้วยคำถาม
- ดวงดาวมีอิทธิพลต่อโลกอย่างไร
ใช้
- ชักเย่อความคิด “ผลดีผลเสียของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
- ครูให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลดีผลเสียของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและอิทธิพลของดวงดาวต่างๆ
- ให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลดีผลเสียของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ในรูปแบบนิทาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่  5
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ นิทาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ภาระงาน
- ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับผลดีผลเสียของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ
- วางแผนการทดลองและเตรียมอุปกรณ์การทดลอง
- วางแผนการนำเสนอ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในรูปแบบ นิทาน

- เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5

ความรู้
: เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับหลักการแรงโน้มถ่วงของโลกที่ส่งผลต่อในอดีตปัจจุบันอนาคตรวมทั้งเห็นความสัมพันธ์ของดวงดาวที่ส่งผลต่อปรากฏการต่างๆในชีวิตประจำวัน
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศและอิทธิพลของดวงดาวต่างๆ
สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานีอวกาศและการสำรวจอวกาศ
ทักษะการคิด
- สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลองรวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- สามารถคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
สามารถอธิบายสิ่งที่ตนเองเกี่ยวกับผลดีผลเสียของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ/กลุ่ม/เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
คุณลักษณะ:
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงานจนสำเร็จ





















บันทึกหลังการสอนสัปดาห์ที่ 5
สัปดาห์นี้ครูเริ่มต้นโดยการตั้งคำถามกระตุ้นการคิด เช่น นักเรียนคิดว่าเทคโนโลยีอวกาศมีผลดีและผลเสียอย่างไรบ้าง ซึ่งนักเรียนหลายคนสามารถตอบคำถามได้ดี เช่น
พี่เพลง :  สามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้หลายอย่างครับ เช่นด้านการแพทย์ ด้านการสื่อสารและคมนาคม 
พี่อังอัง : ด้านการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกโลกของเราค่ะ
พี่นัท : ข้อเสียคือจะทำให้เกิดขยะในอวกาศเพิ่มมากขึ้นครับ
พี่ฝ้าย ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการพัฒนาประเทศชาติครับ
หลังจากนั้นครูได้ให้นักเรียนดูคลิปเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยีอวกาศ และสนทนาแลกเปลี่ยนร่วมกันอีกครั้ง วันต่อมาครูกระตุ้นด้วยคำถามต่างๆ ชวนให้นักเรียนคิด และเหนี่ยวนำให้นักเรียนอยากที่จะทดลอง จึงเป็นที่มาของการวางแผนการทดลองในสัปดาห์นี้ ซึ่งนักเรียนต่างมีความสนใจและกระตือรือร้นอยากที่จะเรียนรู้และอยากทดลอง ครูและนักเรียนได้กำหนดหัวข้อเกี่ยวกับการทดลองร่วมกันและจับฉลากเพื่อเลือกหัวข้อที่จะได้ศึกษาค้นคว้าและทดลอง  วันที่นักเรียนทดลองครูได้เปิดเวทีให้นักเรียนแต่ละกลุ่มได้แสดงศักยภาพของตนเองและให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนๆ บรรยากาศการเรียนเป็นไปอย่างสนุก และทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และครูได้ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลองในรูปแบบที่ตนเองสนใจ เช่น Mind Mapping  Flow Chart หรือ Web ฯลฯ ตามความสนใจ  จากนั้นครูและนักเรียนได้สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ร่วมกันก่อนที่จะให้นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ นักเรียนให้ความร่วมมือในการเรียนรู้เป็นอย่างดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น